วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ภาพดาวเทียมแสดงจุดตกของเฮลิคอปเตอร์ฮิวอี้และแบล็คฮอว์ค

            ภาพดาวเทียม IKONOS ในรูปแบบ 3 มิติเพื่อ แสดงจุดตกของเฮลิคอปเตอร์ฮิวอี้และแบล็คฮอว์คให้เห็นตำแหน่งเด่นชัด โดยค่าพิกัดจุดตกของของเครื่องฮิวอี้มีค่าพิกัด 47PNQ251124 และมีความสูงประมาณ 1,072 เมตรจากระดับน้ำทะเล และพิกัดจุดตกของของเครื่องแบล็คฮอว์ค มีค่าพิกัด.47PNQ251126 และมีความสูงประมาณ 973 เมตรจากระดับน้ำทะเล
20090106-IKONOS-airplane-crash-1s
                                                          (คลิกที่ภาพหรือที่นี้เพื่อดูภาพขยาย)


20090106-IKONOS-airplane-crash-2s
                                                         (คลิกที่ภาพหรือที่นี้เพื่อดูภาพขยาย)

ที่มา : http://www.gistda.or.th/gistda_n/index.php/component/content/article/78/918-20110715-airplanr-crash

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

โครงการดาวเทียม THEOS

          โครงการพัฒนาดาวเทียมสำรวจทรัพยากรของประเทศไทย (THailandEarth Observation System—THEOS) เริ่มขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2547 ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือด้านเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ใช้ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส โดยมีสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) กับบริษัทอีเอดีเอส แอสเตรียม (EADS Astrium SAS) ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน กิจกรรมภายใต้โครงการดังกล่าวประกอบด้วย การออกแบบ การพัฒนา การส่งขึ้นสู่วงโคจร และการทดสอบการทำงานของดาวเทียมธีออส รวมถึงการติดตั้งระบบควบคุมดาวเทียม และผลิตข้อมูลภาคพื้นดิน 
THEOS picture     ดาวเทียม THEOS ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทยขึ้นสู่วงโคจรเป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เวลาในประเทศไทย 13:37 น. โดยจรวด Dnepr จากฐานส่งจรวดเมือง Yasny ประเทศรัสเซีย ปัจจุบันดาวเทียม THEOS ได้ปฏิบัติภารกิจ โดยมีทีมวิศวกร สทอภ. ทำการควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียม THEOS ที่ตั้งอยู่ ณ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
     ดาวเทียมธีออสโคจรเป็นวงกลมในแนวต่ำ ใกล้ขั้วโลก โดยโคจรในแนวสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (Sun-synchronous orbit) ดาวเทียมจะโคจรผ่านเส้นศูนย์สูตรจากเหนือไปใต้ในเวลา 10:00 น. ทุกวัน ตามเวลาท้องถิ่น ระนาบวงโคจรของดาวเทียมทำมุม 30º กับทิศทางการโคจรของดวงอาทิตย์ระยะเวลาการโคจรกลับมาแนวเดิม (Orbit full cycle) 26 วัน