วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ภาพแสดงระดับความสูงต่ำของพื้นที่ กทม.
ภาพแสดงระดับความสูงต่ำของพื้นที่ กทม. เพื่อการวิเคราะห์การเคลื่อนตัวของมวลน้ำ (คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554
UTM Zone
ระบบ UNIVERSAL TRANSVERSE MERCATORS : UTM
หรือระบบพิกัดฉาก ขอบเขตครอบคลุมพื้นที่ ทั้ง หมดบนโลก ระหว่าง Latitude 84 องศาเหนือ และ Latitude 84 องศาใต้ มีหน่วยในการวัดเป็นเมตรพื้นที่โซนจะแบ่งตามระยะองศา Latitude เรียกว่า Zone
การแบ่ง Zone ในระบบ UTM พื้นที่โลกจะถูกแบ่งออกเป็น 60 โซน ตามองศา Longitude ในแต่ละโซนจะมีระยะห่างโซนละ 6 องศาLatitude จะเท่ากับ 600,000 เมตร หรือ 600 กิโลเมตร โซน ที่ 1 จะอยู่ระหว่าง Longitude ที่ 180 องศาตะวันตก ถึง Longitude ที่ 174 องศ ตะวันตก และมีเมอร์ริเดียนกลาง (CM) คือเส้น Longitude ที่ 177 องศาตะวันตก ค่าความผิดพลาดไปทางทิศตะวันออก(False easting) เท่ากับ 500,000 เมตร ซึ่งค่า False easting นี้จะเท่ากันทุกโซน โซนที่ 2,3,4,5....,60 จะอยู่ถัดไปทางตะวันออก ห่างกันโซนละ 6 องศา Longitude ซึ่งโซนสุดท้ายคือโซนที่ 60 จะอยู่ระหว่าง Longitude ที่ 174 องศาตะวันออก ถึง Longitude ที่ 180 องศาตะวันออก
UTM Zone ในประเทศไทย
ประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ในระหว่าง 2 โซน ได้แก่ Zone 47 และ Zone 48
- Zone 47 จะเริ่มต้นที่ Longitude ที่ 96 องศาตะวันออก และสิ้นสุดที่ Longitude ที่ 102 องศาตะวันออก มีเมอร์ริเดียนกลาง (CM) Longitude ที่ 99 องศาตะวันออก ค่าความผิดพลาดไปทางทิศตะวันออก(False easting) เท่ากับ 500,000 เมตร
- Zone 48 จะเริ่มต้นที่ Longitude ที่ 102 องศาตะวันออก และสิ้นสุดที่ Longitude ที่ 108 องศาตะวันออก มีเมอร์ริเดียนกลาง (CM) Longitude ที่ 105 องศาตะวันออก ค่าความผิดพลาดไปทางทิศตะวันออก(False easting) เท่ากับ 500,000 เมตร
พื้นที่ Zone 47 และ Zone 48
จังหวัดที่อยู่ระหว่างโซน 47 และโซน 48
รายชื่อจังหวัดที่อยู่ระหว่างโซน 47 และโซน 48
1.จันทบุรี
2.ปราจีนบุรี
3.สระแก้ว
4.นครราชสีมา
5.ชัยภูมิ
6.ขอนแก่น
7.เลย
8.หนองบัวลำภู (บางส่วน)
9.นราธิวาส (บางส่วน)
ละติจูด ลองจิจูด (Latitude and Longitude)
“เส้นรุ้ง” กับ “เส้นแวง” เป็นคำที่หลายๆ ท่านเคยเรียนในสมัยอยู่โรงเรียน ท่องคำว่า “รุ้งตะแคง แวงตั้ง” และความหมายที่ตรงกันคือ เส้นรุ้งคือละติจูด และเส้นแวงคือลองจิจูด ราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์และให้รายละเอียดของละติจูด ลองจิจูด ไว้ในพจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ไว้ดังนี้
ละติจูด (Latitude) เป็นระยะทางเชิงมุมที่วัดไปตามขอบเมริเดียนซึ่งผ่านตำบลที่ตรวจ โดยนับ 0 (ศูนย์) องศา จากเส้นศูนย์สูตรไปทางเหนือหรือใต้ จนถึง 90 องศาที่ขั้วโลกทั้งสอง หรือเป็นมุมแนวตั้งที่ศูนย์กลางโลกระหว่างเส้นรัศมีของโลกที่ผ่านจุดซึ่งเส้นเมริเดียนตัดเส้นศูนย์สูตรกับเส้นรัศมีที่ผ่านตำบลที่ตรวจ
ลองจิจูด (Longitude) เป็นระยะทางเชิงมุมระหว่างเมริเดียนกรีนิช กับเมริเดียนซึ่งผ่านตำบลที่ตรวจซึ่งวัดไปตามขอบของเส้นศูนย์สูตร หรือขอบของเส้นขนานละติจูด หรือเป็นมุมแนวระดับที่แกนโลกในระหว่างพื้นของเมริเดียนกรนิชกับพื้นของเมริเดียนซึ่งผ่านตำบลที่ตรวจ ตามปรกติวัดเป็น องศา ลิปดา และฟิลิปดา โดยนับ 0 (ศูนย์) องศาจากเมริเดียนกรนิชจนถึง 180 องศาไปทางตะวันออกหรือตะวันตกของเมริเดียนกรีนิช
เส้นเมริเดียน และเมริเดียนกรีนิช มีความหมายว่า
เส้นเมริเดียน (meridian) คือ ขอบของครึ่งวงกลมใหญ่ที่ผ่านขั้วเหนือ และขั้วใต้ของโลก ใช้เป็นเครื่องกำหนดแนวเหนือ-ใต้ของโลก ซึ่งเรียกว่าเหนือจริง ใต้จริง หรือเหนือภูมิศาสตร์ ใต้ภูมิศาสตร์ ตำแหน่งเส้นเมริเดียนบนผิวโลกแต่ละเส้นกำหนดได้ด้วยค่าลองจิจูดของเมริเดียนนั้น
เมริเดียนกรนิช (Greenwich meridian) คือเส้นเมริเดียนที่ผ่านหอดูดาว ณ ตำบลกรีนิช กรุงลอนดอน อังกฤษ ใช้เป็นศูนย์ในการกำหนดค่าต่อไปนี้ 1) พิกัดภูมิศาสตร์ เป็นจุดตั้งต้นของค่าลองจิจูด ซึ่งใช้ประกอบกับค่าละติจูดในการกำหนดตำแหน่งของสถานที่ต่างๆ บนพื้นผิวโลก โดยเมริเดียนกรีนิชนี้จะมีค่าลองจิจูด 0 (ศูนย์) องศา 2) เวลามาตรฐานสากล เวลาของท้องถิ่นที่อยู่ห่างจากเมริเดียนกรีนิชไปทางตะวันออก 1 องศา จะเร็วกว่าเวลาที่กรีนิช 4 นาที แต่ถ้าอยู่ห่างไปทางตะวันตก 1 องศา จะช้ากว่าเวลาที่กรีนิช 4 นาที
คัดลอกจาก : อิสริยา เลาหตีรานนท์ ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ อังคารที่ 20 เมษายน 2553
ละติจูด (Latitude) เป็นระยะทางเชิงมุมที่วัดไปตามขอบเมริเดียนซึ่งผ่านตำบลที่ตรวจ โดยนับ 0 (ศูนย์) องศา จากเส้นศูนย์สูตรไปทางเหนือหรือใต้ จนถึง 90 องศาที่ขั้วโลกทั้งสอง หรือเป็นมุมแนวตั้งที่ศูนย์กลางโลกระหว่างเส้นรัศมีของโลกที่ผ่านจุดซึ่งเส้นเมริเดียนตัดเส้นศูนย์สูตรกับเส้นรัศมีที่ผ่านตำบลที่ตรวจ
ลองจิจูด (Longitude) เป็นระยะทางเชิงมุมระหว่างเมริเดียนกรีนิช กับเมริเดียนซึ่งผ่านตำบลที่ตรวจซึ่งวัดไปตามขอบของเส้นศูนย์สูตร หรือขอบของเส้นขนานละติจูด หรือเป็นมุมแนวระดับที่แกนโลกในระหว่างพื้นของเมริเดียนกรนิชกับพื้นของเมริเดียนซึ่งผ่านตำบลที่ตรวจ ตามปรกติวัดเป็น องศา ลิปดา และฟิลิปดา โดยนับ 0 (ศูนย์) องศาจากเมริเดียนกรนิชจนถึง 180 องศาไปทางตะวันออกหรือตะวันตกของเมริเดียนกรีนิช
เส้นเมริเดียน และเมริเดียนกรีนิช มีความหมายว่า
เส้นเมริเดียน (meridian) คือ ขอบของครึ่งวงกลมใหญ่ที่ผ่านขั้วเหนือ และขั้วใต้ของโลก ใช้เป็นเครื่องกำหนดแนวเหนือ-ใต้ของโลก ซึ่งเรียกว่าเหนือจริง ใต้จริง หรือเหนือภูมิศาสตร์ ใต้ภูมิศาสตร์ ตำแหน่งเส้นเมริเดียนบนผิวโลกแต่ละเส้นกำหนดได้ด้วยค่าลองจิจูดของเมริเดียนนั้น
เมริเดียนกรนิช (Greenwich meridian) คือเส้นเมริเดียนที่ผ่านหอดูดาว ณ ตำบลกรีนิช กรุงลอนดอน อังกฤษ ใช้เป็นศูนย์ในการกำหนดค่าต่อไปนี้ 1) พิกัดภูมิศาสตร์ เป็นจุดตั้งต้นของค่าลองจิจูด ซึ่งใช้ประกอบกับค่าละติจูดในการกำหนดตำแหน่งของสถานที่ต่างๆ บนพื้นผิวโลก โดยเมริเดียนกรีนิชนี้จะมีค่าลองจิจูด 0 (ศูนย์) องศา 2) เวลามาตรฐานสากล เวลาของท้องถิ่นที่อยู่ห่างจากเมริเดียนกรีนิชไปทางตะวันออก 1 องศา จะเร็วกว่าเวลาที่กรีนิช 4 นาที แต่ถ้าอยู่ห่างไปทางตะวันตก 1 องศา จะช้ากว่าเวลาที่กรีนิช 4 นาที
คัดลอกจาก : อิสริยา เลาหตีรานนท์ ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ อังคารที่ 20 เมษายน 2553
วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554
RSS คืออะไร
RSS หรือ Really Simple Syndication คือรูปแบบไฟล์ของภาษา XML ใช้สำหรับการแบ่งปันหัวเรื่อง ข้อมูลบนเว็บระหว่างเว็บด้วยกัน หรือสำหรับดึงข่าวจากเว็บต่างๆ มาแสดงบนเว็บของคุณ อาจมีการสร้างหัวเรื่องของข้อมูลจากเว็บต้นทาง จากนั้นนำลิงค์ไปติดที่หน้าเว็บของเรา การแก้ไข ถ้าข้อมูลมีการแก้ไขจากเว็บต้นทางเว็บของเราจะทำการแก้ไขตามเว็บต้นทางด้วย
จุดเด่นของ RSS คือ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเข้าไปในเว็บไซต์นั้นบ่อยๆ เพื่อดูว่ามีข้อมูลอัปเดทใหม่หรือไม่ รูปแบบ RSS จะสามารถช่วยอำนวยความสะดวกโดยสามารถติดตั้งโปรแกรม RSS Reader เพื่อใช้สำหรับดึงหัวข้อที่มีบริการ RSS มาไว้ในเครื่องของเรา และเืมื่อมีการแก้ไขจากเว็บนั้นๆ เราก็สามารถคลิกลิงค์ไปยังเว็บที่ให้บริการได้โดยตรง ทำให้ย่นเวลาในการเข้าไปดูเว็บต่างๆ มากมาย
รู้ได้อย่างไรว่าเว็บไหนมีบริการ RSS
สังเกตได้จากสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมาย หรือ ส่วนใหญ่มักอยู่บริเวณเมนูหลักของเว็บ หรือบริเวณส่วนล่างของหน้าเว็บเพจ
สังเกตได้จากสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมาย หรือ ส่วนใหญ่มักอยู่บริเวณเมนูหลักของเว็บ หรือบริเวณส่วนล่างของหน้าเว็บเพจ
เพิ่มเติม : XML
เอกซ์เอ็มแอล (XML) ย่อมาจาก Extensible Markup Language ซึ่งเป็นภาษามาร์กอัปสำหรับการใช้งานทั่วไป พัฒนาโดยW3C โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็น สิ่งที่เอาไว้ติดต่อกันในระบบที่มีความแตกต่างกัน(เช่นใช้คอมพิวเตอร์มี่มีระบบปฏิบัติการคนละตัว หรืออาจจะเป็นคนละโปรแกรมประยุกต์ที่มีความต้องการสื่อสารข้อมูลถึงกัน)นอกจากนี้ยังเพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างภาษามาร์กอัปเฉพาะทางอีกขั้นหนึ่ง XML พัฒนามาจาก SGML โดยดัดแปลงให้มีความซับซ้อนลดน้อยลง XML ใช้ในแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน และเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต
เอกซ์เอ็มแอล (XML) ย่อมาจาก Extensible Markup Language ซึ่งเป็นภาษามาร์กอัปสำหรับการใช้งานทั่วไป พัฒนาโดยW3C โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็น สิ่งที่เอาไว้ติดต่อกันในระบบที่มีความแตกต่างกัน(เช่นใช้คอมพิวเตอร์มี่มีระบบปฏิบัติการคนละตัว หรืออาจจะเป็นคนละโปรแกรมประยุกต์ที่มีความต้องการสื่อสารข้อมูลถึงกัน)นอกจากนี้ยังเพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างภาษามาร์กอัปเฉพาะทางอีกขั้นหนึ่ง XML พัฒนามาจาก SGML โดยดัดแปลงให้มีความซับซ้อนลดน้อยลง XML ใช้ในแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน และเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต
วิธีการรับ RSS
กรณีที่ยังไม่มีโปรแกรม RSS ต้อง Download โปรแกรม RSS มาติดตั้งที่เครื่องก่อน โปรแกรม RSS มีหลายค่าย ได้แก่
กรณีที่ยังไม่มีโปรแกรม RSS ต้อง Download โปรแกรม RSS มาติดตั้งที่เครื่องก่อน โปรแกรม RSS มีหลายค่าย ได้แก่
วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554
แปลงพิกัด lat/long เป็น Grid UTM บนเว็บ ง่ายๆ จิบๆ....
วันนี้มาแนะนำ โปรแกรมแปลงพิกัดภูมิศาสตร์ ที่สะดวก บนเว็บไซต์แห่งหนึ่ง
GPS Coordinate Converter, Maps and Info http://boulter.com/gps/
เมื่อผู้ใช้งาน GPS ไปออกสำรวจภาคสนาม และได้ค่าพิกัดเป็นระบบ Geographic Corrdiante System มา หรือที่เรานิยมเรียกว่า แลตติจูด ลองกิจูด ท่านสามารถแปลงไปในระบบ Grid/Projected Coordinate System ได้ สำหรับท่านที่อยากทดลองใช้ ก็เข้าสู่โปรแกรม Google Earth ก็ได้ แล้วอ่านค่าพิกัดแผนที่มา ในรูปแบบ decimal degree เช่น 13.75741 100.49001 หรือ N13.75741 E100.49001 หรือใส่รูปแบบ degree decimal minute เช่น N 13 45.445 E 100 29.401
ให้ระบุพิกัดลงไปในช่องรับค่าพิกัด แล้วกดปุ่ม Enter หรือคิลก Convert and Map
ผลลัพธ์ที่ได้ ในระบบพิกัด Grid Coordinate Systems
ในกรณีที่ท่านผู้ศึกษา ไม่ออน์ไลน์ อยากจะ บันทึกไว้ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็สามารถทำได้
ควรใช้ Internet Explorer เข้าสู่เว็บ http://boulter.com/gps/
แล้วเลือกเมนู File >> Save As…
กำหนด option ที่ Save as type เป็น Web Archive single file (*.mht)
และเลือก Encoding เป็น Unicode (UTF-8)
ติดตามสถานการณืนํ้าท่วมในประเทศไทย
เนื่องจากผู้เขียนได้เห็นข่าวเรื่องนํ้าท่วมในหลายจังหวัดของประเทศไทย เป็นที่น่าเสียใจและเห็นใจกับผู้คนที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งปรากฎการณ์เหล่านี้เป็นปรากฎการณ์จากธรรมชาติ เราไม่สามารถทราบได้เลยว่าจะมาเมื่อไร ตอนไหน ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นเพราะคนเรานี้เองที่ทำลายธรรมชาติ ทำให้ธรรมชาติไม่สมดุลกัน จึงเกิดภัยธรรมชาติ ส่งผลกระทบกับมาที่มนุษย์ ดังนั้นในฐานะที่ผมเป็นนิสิตทางด้าน GIS ผมจึงนำข่าวสารนํ้าท่วมมาฝากกัน โดยสามารถเช็คพื้นที่ที่นํ้าท่วม ได้ตลอดเวลากันเลยทีเดียว
ซึ่ง สทอภ. ได้จัดทำข้อมูลภูมิสารสนเทศ บริเวณที่เกิดอุทกภัยในประเทศ ทั้งในลักษณะข้อมูลรายวัน และคาดการณ์ล่วงหน้า รวมทั้งพื้นที่น้ำท่วมในอดีต ซึ่งสามารถเข้าไปดูได้ที่ http://flood.gistda.or.th นอกจากนี้ ท่านยังสามารถตรวจสอบช่วงเวลาการรับสัญญาณของดาวเทียม RADARSAT-2 ได้จากผังการรับสัญญาณดาวเทียม RADARSAT-2 ประจำปี 2554 ได้ที่ http://www.gistda.or.th/gistda_n/Gallery/html/flood2011/ThRS_plan2011.html
ซึ่ง สทอภ. ได้จัดทำข้อมูลภูมิสารสนเทศ บริเวณที่เกิดอุทกภัยในประเทศ ทั้งในลักษณะข้อมูลรายวัน และคาดการณ์ล่วงหน้า รวมทั้งพื้นที่น้ำท่วมในอดีต ซึ่งสามารถเข้าไปดูได้ที่ http://flood.gistda.or.th นอกจากนี้ ท่านยังสามารถตรวจสอบช่วงเวลาการรับสัญญาณของดาวเทียม RADARSAT-2 ได้จากผังการรับสัญญาณดาวเทียม RADARSAT-2 ประจำปี 2554 ได้ที่ http://www.gistda.or.th/gistda_n/Gallery/html/flood2011/ThRS_plan2011.html
วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554
Area 51
ภาพถ่ายทางอากาศบริเวณ Area51
เขตพื้นที่ 51 (Area 51) ถ้าจะว่าไปแล้ว ในโลกใบนี้ยังมีสถานที่ลึกลับหรือแปลกประหลาดยังพิสู จน์ไม่ได้อีกเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถาน หรือดินแดนแห่งตำนานต่าง ๆ แต่สำหรับพื้นที่แห่งหนึ่งซึ่งเรียกว่า “เขตพื้นที่ 51” (Area 51) รวม อยู่ในกฎนี้ไหม มันคืออะไร แต่ถ้าคุณเป็นคนที่ชอบติดตามข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งบิน ลึกลับ (จานบินนั่นแหละ) เชื่อว่าคงเคยได้ยินชื่อนี้กันมาบ้างไม่มากก็น้อย
แอเรีย 51 คือ ฐานทัพลับของกองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งตั้งอยู่โดดเดี่ยวลึกเข้าไปในบริเวณต้องห้ามอันก ว้างขวางของรัฐบาล ซึ่งตั้งอยู่ในทะเลทรายเนวาด้า ซึ่งหากคุณๆคิดจะไปเฉียดกรายกันล่ะก็ ลองใช้เวลาสัก 2 ชั่วโมงขับรถไปทางตะวันตก เฉียงหเนือของลาสเวกัส บริเวณที่เป็นที่รู้จักกันดี และมีข่าวลือเกี่ยวกับการทดลองของกองทัพสหรัฐนั้น ได้แก่ Groom Lake และ Papoose Lake
โดยทั่วไปเชื่อว่า แอเรีย 51 นี้ เป็นสถานที่ที่ใช้ฝึกและพัฒนาสำหรับโคงการลับที่สุดของทางทหาร โดยเฉพาะ เครื่องบินสอดแนมและเทคโนโลยีทางการบินที่แอบพัฒนากันอยู่ ข่าวลือเกี่ยวกับแอเรีย 51 นี้เริ่มมีหนาหูขึ้น จนประชาชนสงสัยว่าจริงๆแล้ว มีอะไรซ่อนอยู่ที่ฐานทัพแห่งนี้ มีประชาชนจำนวนหนึ่งออกมารายงานว่า ได้เห็นวัตถุประหลาดลอยอยู่เหนือฐานทัพ และหลายคนกล่าวว่า กองทัพได้ใช้ฐานทัพนี้ ในการศึกษาจานบินและมนุษย์ต่างดาวที่พวกเขาจับกุมกัน มาได้ด้วย
โดยทั่วไปเชื่อว่า แอเรีย 51 นี้ เป็นสถานที่ที่ใช้ฝึกและพัฒนาสำหรับโคงการลับที่สุดของทางทหาร โดยเฉพาะ เครื่องบินสอดแนมและเทคโนโลยีทางการบินที่แอบพัฒนากันอยู่ ข่าวลือเกี่ยวกับแอเรีย 51 นี้เริ่มมีหนาหูขึ้น จนประชาชนสงสัยว่าจริงๆแล้ว มีอะไรซ่อนอยู่ที่ฐานทัพแห่งนี้ มีประชาชนจำนวนหนึ่งออกมารายงานว่า ได้เห็นวัตถุประหลาดลอยอยู่เหนือฐานทัพ และหลายคนกล่าวว่า กองทัพได้ใช้ฐานทัพนี้ ในการศึกษาจานบินและมนุษย์ต่างดาวที่พวกเขาจับกุมกัน มาได้ด้วย
เขตพื้นที่ 51 เป็นชื่อเรียกของพื้นที่เขตหวงห้ามของรัฐบาลสหรัฐตั้ งอยู่ทางเหนือของลาสเวกัสประมาณ 95 ไมล์ และ 13 ไมล์ทางตะวันออกทางหลวงสายที่ 375 บนถนนกรูมเลค (Grom Lake Road) ใกล้กับเมืองราเชล (Rachel) พื้นที่นี้ล้อมรอบไปด้วยเขตทดลองของรัฐเนวาด้า (The Nevada Test Site) และเป็นที่ตั้งของฐานทัพอากาศเนลลิส (Nellis Air Force Range) ที่เรียกว่าพื้นที่ 51 ก็เพราะเป็นชื่อจุดที่ตั้งซึ่งปรากฎบนแผนที่ ของเขตทดลองเนวาดา
วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554
บทสรุปเหตุ ฮ.ตก ที่แก่งกระจาน
ศูนย์การบินทหารบก สรุปสาเหตุเบื้องต้นของเฮลิคอปเตอร์ทั้ง 3 ลำตก ที่อำเภอแก่งกระจาน ว่าเป็นอุบัติเหตุ พร้อมสั่งทุกหน่วยตรวจสอบเฮลิคอปเตอร์ในสังกัดเพื่อความปลอดภัยโดยด่วน
โดยพลตรีพิทยา กระจ่างวงษ์ ผู้บัญชาการศูนย์การบินทหารบก เปิดเผยว่า กรณีเฮลิคอปเตอร์ แบบฮิวอี้ ที่ตกเป็นลำแรกมีสาเหตุมาจากสภาพอากาศและภูมิประเทศ เนื่องจากในวันที่ 16 กรกฎาคม มีทั้งเมฆ, หมอก, ฝน และลม ซึ่งสภาพภูมิประเทศที่เป็นป่าและภูเขา ทำให้กระแสลมแปรปรวนมีทั้งลมตีขึ้น ตีลง และลมเฉือน เมื่อนักบินพยายามนำเครื่องลงจอดที่ฐานจอดชั่วคราวบนเนิน 1100 สภาพอากาศมีลักษณะปิด ๆ เปิด ๆ พอเครื่องลงเกือบถึงจุดวางตัว มีกลุ่มเมฆไหลเข้ามาปกคลุมยอดเนิน ทำให้นักบินมองไม่เห็นจุดลง จึงต้องยกตัวขึ้นเพื่อเตรียมลงจอดใหม่ เครื่องจึงไปชนภูเขา
สำหรับกรณีเครื่องแบล็กคฮอว์ก ที่ตกลำที่ 2 วันที่ 19 กรกฎาคมนั้น มีสาเหตุใกล้เคียงกัน คือ นักบินกำลังจะลงจอดแล้วเจอสภาพอากาศปิด ๆ เปิด ๆ แบบเดียวกับ มีเมฆไหลเข้ามาคลุมยอดเนิน ทำให้นักบินมองไม่เห็นจุดลงและเกิดอาการ "หลงสภาพ" เครื่องจึงเป๋ออกจากจุดลงและตกในที่สุด
และสำหรับกรณีเครื่องเบลล์ 212 ที่ตกเป็นลำที่ 3 เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคมได้สอบถามจากชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ และช่างเครื่องที่รอดชีวิต ทราบว่า อุปกรณ์ควบคุมใบพัดหางเทลเตอร์ขัดข้อง จึงไม่สามารถควบคุมใบพัดหางได้ พร้อมทั้งยืนยันว่าเครื่องไม่ได้ดับอย่างที่เข้าใจกันตอนแรก เพราะเครื่องตกถึงพื้นแล้วยังมีเสียงเครื่องยนต์ทำงานอยู่
อย่างไรก็ตาม ผู้บัญชาการศูนย์การบินทหารบก ยืนยันว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอุบัติเหตุไม่ใช่ความประมาทของนักบิน หรือช่างเครื่อง เพราะนักบินทั้ง 6 คน (3 ลำ ลำละ 2 คน) ผ่านการฝึกตามมาตรฐานสากลและมาตรฐานทางทหาร ส่วนตัวเครื่องแม้จะเป็นเครื่องเก่า แต่ก็มีระบบซ่อมบำรุงตามมาตรฐานกองทัพบกสหรัฐฯ มีการตรวจเช็คตามวงรอบ เปลี่ยนชิ้นส่วนใหม่ตลอด ในแต่ละวันจะมีช่างเครื่องตรวจเช็คทุกวัน ทั้งก่อนและหลังบิน
แต่ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยทางกองทัพบกได้ประสานกรมการขนส่งทหารบกให้ทำหนังสือแจ้งทุกหน่วยที่มีเฮลิคอปเตอร์ เบลล์ 212 ประจำการอยู่ ตรวจเช็คใบพัดหาง และอุปกรณ์ควบคุมทุกลำ หากไม่พบปัญหา หรือ สิ่งผิดปกติก็สามารถนำขึ้นบินได้
ที่มา : http://hilight.kapook.com/view/60883
โดยพลตรีพิทยา กระจ่างวงษ์ ผู้บัญชาการศูนย์การบินทหารบก เปิดเผยว่า กรณีเฮลิคอปเตอร์ แบบฮิวอี้ ที่ตกเป็นลำแรกมีสาเหตุมาจากสภาพอากาศและภูมิประเทศ เนื่องจากในวันที่ 16 กรกฎาคม มีทั้งเมฆ, หมอก, ฝน และลม ซึ่งสภาพภูมิประเทศที่เป็นป่าและภูเขา ทำให้กระแสลมแปรปรวนมีทั้งลมตีขึ้น ตีลง และลมเฉือน เมื่อนักบินพยายามนำเครื่องลงจอดที่ฐานจอดชั่วคราวบนเนิน 1100 สภาพอากาศมีลักษณะปิด ๆ เปิด ๆ พอเครื่องลงเกือบถึงจุดวางตัว มีกลุ่มเมฆไหลเข้ามาปกคลุมยอดเนิน ทำให้นักบินมองไม่เห็นจุดลง จึงต้องยกตัวขึ้นเพื่อเตรียมลงจอดใหม่ เครื่องจึงไปชนภูเขา
สำหรับกรณีเครื่องแบล็กคฮอว์ก ที่ตกลำที่ 2 วันที่ 19 กรกฎาคมนั้น มีสาเหตุใกล้เคียงกัน คือ นักบินกำลังจะลงจอดแล้วเจอสภาพอากาศปิด ๆ เปิด ๆ แบบเดียวกับ มีเมฆไหลเข้ามาคลุมยอดเนิน ทำให้นักบินมองไม่เห็นจุดลงและเกิดอาการ "หลงสภาพ" เครื่องจึงเป๋ออกจากจุดลงและตกในที่สุด
และสำหรับกรณีเครื่องเบลล์ 212 ที่ตกเป็นลำที่ 3 เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคมได้สอบถามจากชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ และช่างเครื่องที่รอดชีวิต ทราบว่า อุปกรณ์ควบคุมใบพัดหางเทลเตอร์ขัดข้อง จึงไม่สามารถควบคุมใบพัดหางได้ พร้อมทั้งยืนยันว่าเครื่องไม่ได้ดับอย่างที่เข้าใจกันตอนแรก เพราะเครื่องตกถึงพื้นแล้วยังมีเสียงเครื่องยนต์ทำงานอยู่
อย่างไรก็ตาม ผู้บัญชาการศูนย์การบินทหารบก ยืนยันว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอุบัติเหตุไม่ใช่ความประมาทของนักบิน หรือช่างเครื่อง เพราะนักบินทั้ง 6 คน (3 ลำ ลำละ 2 คน) ผ่านการฝึกตามมาตรฐานสากลและมาตรฐานทางทหาร ส่วนตัวเครื่องแม้จะเป็นเครื่องเก่า แต่ก็มีระบบซ่อมบำรุงตามมาตรฐานกองทัพบกสหรัฐฯ มีการตรวจเช็คตามวงรอบ เปลี่ยนชิ้นส่วนใหม่ตลอด ในแต่ละวันจะมีช่างเครื่องตรวจเช็คทุกวัน ทั้งก่อนและหลังบิน
แต่ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยทางกองทัพบกได้ประสานกรมการขนส่งทหารบกให้ทำหนังสือแจ้งทุกหน่วยที่มีเฮลิคอปเตอร์ เบลล์ 212 ประจำการอยู่ ตรวจเช็คใบพัดหาง และอุปกรณ์ควบคุมทุกลำ หากไม่พบปัญหา หรือ สิ่งผิดปกติก็สามารถนำขึ้นบินได้
ที่มา : http://hilight.kapook.com/view/60883
วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ภาพจากดาวเทียมแสดงพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติทับลานที่ถูกบุกรุก อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
ข้อมูลจากดาวเทียมแสดงพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติทับลานที่ถูกบุกรุก บริเวณอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
(คลิกดูรายละเอียดและภาพเพิ่มเติม)
(คลิกดูรายละเอียดและภาพเพิ่มเติม)
ที่มา : http://www.gistda.or.th/gistda_n/index.php/component/content/article/78-news-break/920-2011-08-01-14-10-16
วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554
วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ภาพดาวเทียมแสดงจุดตกของเฮลิคอปเตอร์ฮิวอี้และแบล็คฮอว์ค
ภาพดาวเทียม IKONOS ในรูปแบบ 3 มิติเพื่อ แสดงจุดตกของเฮลิคอปเตอร์ฮิวอี้และแบล็คฮอว์คให้เห็นตำแหน่งเด่นชัด โดยค่าพิกัดจุดตกของของเครื่องฮิวอี้มีค่าพิกัด 47PNQ251124 และมีความสูงประมาณ 1,072 เมตรจากระดับน้ำทะเล และพิกัดจุดตกของของเครื่องแบล็คฮอว์ค มีค่าพิกัด.47PNQ251126 และมีความสูงประมาณ 973 เมตรจากระดับน้ำทะเล
(คลิกที่ภาพหรือที่นี้เพื่อดูภาพขยาย)
(คลิกที่ภาพหรือที่นี้เพื่อดูภาพขยาย)
ที่มา : http://www.gistda.or.th/gistda_n/index.php/component/content/article/78/918-20110715-airplanr-crash
(คลิกที่ภาพหรือที่นี้เพื่อดูภาพขยาย)
(คลิกที่ภาพหรือที่นี้เพื่อดูภาพขยาย)
ที่มา : http://www.gistda.or.th/gistda_n/index.php/component/content/article/78/918-20110715-airplanr-crash
วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
โครงการดาวเทียม THEOS
โครงการพัฒนาดาวเทียมสำรวจทรัพยากรของประเทศไทย (THailandEarth Observation System—THEOS) เริ่มขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2547 ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือด้านเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ใช้ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส โดยมีสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) กับบริษัทอีเอดีเอส แอสเตรียม (EADS Astrium SAS) ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน กิจกรรมภายใต้โครงการดังกล่าวประกอบด้วย การออกแบบ การพัฒนา การส่งขึ้นสู่วงโคจร และการทดสอบการทำงานของดาวเทียมธีออส รวมถึงการติดตั้งระบบควบคุมดาวเทียม และผลิตข้อมูลภาคพื้นดิน
ดาวเทียม THEOS ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทยขึ้นสู่วงโคจรเป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เวลาในประเทศไทย 13:37 น. โดยจรวด Dnepr จากฐานส่งจรวดเมือง Yasny ประเทศรัสเซีย ปัจจุบันดาวเทียม THEOS ได้ปฏิบัติภารกิจ โดยมีทีมวิศวกร สทอภ. ทำการควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียม THEOS ที่ตั้งอยู่ ณ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ดาวเทียมธีออสโคจรเป็นวงกลมในแนวต่ำ ใกล้ขั้วโลก โดยโคจรในแนวสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (Sun-synchronous orbit) ดาวเทียมจะโคจรผ่านเส้นศูนย์สูตรจากเหนือไปใต้ในเวลา 10:00 น. ทุกวัน ตามเวลาท้องถิ่น ระนาบวงโคจรของดาวเทียมทำมุม 30º กับทิศทางการโคจรของดวงอาทิตย์ระยะเวลาการโคจรกลับมาแนวเดิม (Orbit full cycle) 26 วัน
วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554
วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554
แผนที่ และ ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่ คือ
สิ่งที่แสดงลักษณะของผิวโลก ทั้งที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยแสดงลงบนพื้นราบ อาศัยการย่อส่วนให้เล็กลงตามขนาดที่ต้องการและใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์แทนสิ่งที่ปรากฏอยู่ บนผิวโลก
ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ
สิ่งที่แสดงลักษณะของผิวโลก ทั้งที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยแสดงลงบนพื้นราบ อาศัยการย่อส่วนให้เล็กลงตามขนาดที่ต้องการและใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์แทนสิ่งที่ปรากฏอยู่ บนผิวโลก
ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ
- ข้อมูลเชิงภาพ (Graphic data) สามารถแทนได้ด้วย 2 รูปแบบพื้นฐาน
- ข้อมูลแบบเวกเตอร์ (Vector format) Vector representation ตัวแทนของเวกเตอร์นี้อาจแสดงด้วย จุด เส้น หรือพื้นที่ซึ่งถูกกำหนดโดยจุดพิกัด ซึ่งข้อมูลประกอบด้วยจุดพิกัดทางแนวราบ (X,Y) และ/หรือ แนวดิ่ง (Z) หรือ Cartesian Coordinate System ถ้าเป็นพิกัดตำแหน่งเดียวก็จะเป็นค่าของจุด ถ้าจุดพิกัดสองจุดหรือมากกว่าก็เป็นเส้น ส่วนพื้นที่นั้นจะต้องมีจุดมากกว่า 3 จุดขึ้นไป และจุดพิกัดเริ่มต้นและจุดพิกัดสุดท้าย จะต้องอยู่ตำแหน่งเดียวกัน ข้อมูลเวกเตอร์ ได้แก่ ถนน แม่น้ำ ลำคลอง ขอบเขตการปกครอง เป็นต้น
- ข้อมูลแบบแรสเตอร์ (Rastor format) Raster or grid representation คือ จุดของเซล ที่อยู่ในแต่ละช่วงสี่เหลี่ยม (grid) โครงสร้างของ Raster ประกอบด้วยชุดของ Grid cell หรือ pixel หรือ picture element cell ข้อมูลแบบ Raster เป็นข้อมูลที่อยู่บนพิกัดรูปตารางแถวนอนและแถวตั้ง แต่ละ cell อ้างอิงโดยแถวและสดมภ์ภายใน grid cell จะมีตัวเลขหรือภาพข้อมูล Raster ความสามารถแสดงรายละเอียดของข้อมูลราสเตอร์ขึ้นอยู่กับขนาดของเซลล์ ณ จุดพิกัดที่ประกอบขึ้นเป็นฐานข้อมูลแสดงตำแหน่งชุดนั้น ซึ่งข้อมูลประเภท Raster มีข้อได้เปรียบในการใช้ทรัพยากรระบบคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพดีกว่า ช่วยให้สามารถทำการวิเคราะห์ได้รวดเร็ว Raster Data อาจแปรรูปมาจากข้อมูล Vector หรือแปลงจาก Raster ไปเป็น Vector แต่เห็นได้ว่าจะมีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นระหว่างการแปรรูปข้อมูล
- ข้อมูลอรรถธิบาย (Attribute data) เป็นข้อความอธิบายที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงภาพเหล่านั้น เช่น ชื่อถนน, ลักษณะ พื้นผิว และจำนวนช่องทางวิ่งของเส้นถนนแต่ละเส้น เป็นต้น
ลักษณะข้อมูลภูมิศาสตร์ (Geographic Features)
ปรากฏการณ์ หรือวัตถุต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา
แสดงลงบนแผนที่ ด้วย
อธิบายลักษณะสิ่งที่ปรากฏ ด้วย
ที่ตั้ง (Location)
ลักษณะข้อมูลภูมิศาสตร์จะต้องแสดงถึงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และที่ตั้งสัมพันธ์ของสถานที่หรือสิ่งต่างๆ บนโลก
อ้างอิง : http://www.gisthai.org/about-gis/feature-gis.html
- สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
- สภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น
แสดงลงบนแผนที่ ด้วย
- จุด (Point)
- เส้น (line)
- พื้นที่ (Area หรือ Polygon)
- ตัวอักษร (Text)
อธิบายลักษณะสิ่งที่ปรากฏ ด้วย
- สี (Color)
- สัญลักษณ์ (Symbol)
- ข้อความบรรยาย (Annotation)
ที่ตั้ง (Location)
ลักษณะข้อมูลภูมิศาสตร์จะต้องแสดงถึงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และที่ตั้งสัมพันธ์ของสถานที่หรือสิ่งต่างๆ บนโลก
อ้างอิง : http://www.gisthai.org/about-gis/feature-gis.html
หน้าที่ของ GIS ( How GIS Works )
ภาระหน้าที่หลัก ๆ ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ควรจะมีอยู่ด้วยกัน 5 อย่างดังนี้
1.การนำเข้าข้อมูล (Input)
ก่อนที่ข้อมูลทางภูมิศาสตร์จะถูกใช้งานได้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ข้อมูลจะต้องได้รับการแปลง ให้มาอยู่ในรูปแบบของข้อมูลเชิงตัวเลข (digital format) เสียก่อน เช่น จากแผนที่กระดาษไปสู่ข้อมูลใน รูปแบบดิจิตอลหรือแฟ้มข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ที่ใช้ในการนำเข้าเช่น Digitizer Scanner หรือ Keyboard เป็นต้น
2.การปรับแต่งข้อมูล (Manipulation)
ข้อมูลที่ได้รับเข้าสู่ระบบบางอย่างจำเป็นต้องได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมกับงาน เช่น ข้อมูลบางอย่างมีขนาด หรือสเกล (scale) ที่แตกต่างกัน หรือใช้ระบบพิกัดแผนที่ที่แตกต่างกัน ข้อมูลเหล่านี้จะต้องได้รับการปรับให้อยู่ใน ระดับเดียวกันเสียก่อน
3.การบริหารข้อมูล (Management)
ระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS จะถูกนำมาใช้ในการบริหารข้อมูลเพื่อการ
ทำงานที่มีประสิทธิภาพในระบบ GIS DBMS ที่ได้รับการเชื่อถือและนิยมใช้กันอย่าง
กว้างขวางที่สุดคือ DBMS แบบ Relational หรือระบบจัดการฐานข้อมูลแบบ
สัมพัทธ์ (DBMS) ซึ่งมีหลักการทำงานพื้นฐานดังนี้คือ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บ ในรูปของตารางหลาย ๆ ตาราง
4.การเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล (Query and Analysis)
เมื่อระบบ GIS มีความพร้อมในเรื่องของข้อมูลแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การนำข้อมูลเหล่านี่มาใช้ให้เกิด ประโยชน์ เช่น
5.การนำเสนอข้อมูล (Visualization)
จากการดำเนินการเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล ผลลัพธ์ที่ได้จะอยู่ในรูปของตัวเลขหรือตัวอักษร ซึ่งยากต่อการตีความหมายหรือทำความเข้าใจ การนำเสนอข้อมูลที่ดี เช่น การแสดงชาร์ต (chart) แบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ รูปภาพจากสถานที่จริง ภาพเคลื่อนไหว แผนที่ หรือแม้กระทั้งระบบมัลติมีเดียสื่อต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้ผู้ใช้เข้าใจความหมายและมองภาพของผลลัพธ์ที่กำลังนำเสนอได้ดียิ่งขึ้น อีก ทั้งเป็นการดึงดูดความสนใจของผู้ฟังอีกด้วย
อ้างอิง : http://www.gisthai.org/about-gis/work-gis.html
1.การนำเข้าข้อมูล (Input)
ก่อนที่ข้อมูลทางภูมิศาสตร์จะถูกใช้งานได้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ข้อมูลจะต้องได้รับการแปลง ให้มาอยู่ในรูปแบบของข้อมูลเชิงตัวเลข (digital format) เสียก่อน เช่น จากแผนที่กระดาษไปสู่ข้อมูลใน รูปแบบดิจิตอลหรือแฟ้มข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ที่ใช้ในการนำเข้าเช่น Digitizer Scanner หรือ Keyboard เป็นต้น
2.การปรับแต่งข้อมูล (Manipulation)
ข้อมูลที่ได้รับเข้าสู่ระบบบางอย่างจำเป็นต้องได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมกับงาน เช่น ข้อมูลบางอย่างมีขนาด หรือสเกล (scale) ที่แตกต่างกัน หรือใช้ระบบพิกัดแผนที่ที่แตกต่างกัน ข้อมูลเหล่านี้จะต้องได้รับการปรับให้อยู่ใน ระดับเดียวกันเสียก่อน
3.การบริหารข้อมูล (Management)
ระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS จะถูกนำมาใช้ในการบริหารข้อมูลเพื่อการ
ทำงานที่มีประสิทธิภาพในระบบ GIS DBMS ที่ได้รับการเชื่อถือและนิยมใช้กันอย่าง
กว้างขวางที่สุดคือ DBMS แบบ Relational หรือระบบจัดการฐานข้อมูลแบบ
สัมพัทธ์ (DBMS) ซึ่งมีหลักการทำงานพื้นฐานดังนี้คือ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บ ในรูปของตารางหลาย ๆ ตาราง
4.การเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล (Query and Analysis)
เมื่อระบบ GIS มีความพร้อมในเรื่องของข้อมูลแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การนำข้อมูลเหล่านี่มาใช้ให้เกิด ประโยชน์ เช่น
- ใครคือเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินผืนที่ติดกับโรงเรียน ?
- เมืองสองเมืองนี้มีระยะห่างกันกี่กิโลเมตร ?
- ดินชนิดใดบ้างที่เหมาะสำหรับปลูกอ้อย ?
5.การนำเสนอข้อมูล (Visualization)
จากการดำเนินการเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล ผลลัพธ์ที่ได้จะอยู่ในรูปของตัวเลขหรือตัวอักษร ซึ่งยากต่อการตีความหมายหรือทำความเข้าใจ การนำเสนอข้อมูลที่ดี เช่น การแสดงชาร์ต (chart) แบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ รูปภาพจากสถานที่จริง ภาพเคลื่อนไหว แผนที่ หรือแม้กระทั้งระบบมัลติมีเดียสื่อต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้ผู้ใช้เข้าใจความหมายและมองภาพของผลลัพธ์ที่กำลังนำเสนอได้ดียิ่งขึ้น อีก ทั้งเป็นการดึงดูดความสนใจของผู้ฟังอีกด้วย
อ้างอิง : http://www.gisthai.org/about-gis/work-gis.html
องค์ประกอบของ GIS ( Components of GIS )
องค์ประกอบหลักของระบบ GIS จัดแบ่งออกเป็น 5 ส่วนใหญ่ ๆ คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) โปรแกรม (Software) ขั้นตอนการทำงาน (Methods) ข้อมูล (Data) และบุคลากร (People) โดยมีรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1.อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
คือเครื่องคอมพิวเตอร์รวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เช่น Digitizer, Scanner, Plotter, Printer หรืออื่น ๆ เพื่อใช้ในการนำเข้าข้อมูล ประมวลผล แสดงผล และผลิตผลลัพธ์ของการทำงาน
2.โปรแกรม
คือชุดของคำสั่งสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Arc/Info, MapInfo ฯลฯ ซึ่งประกอบด้วยฟังก์ชั่น การทำงานและเครื่องมือที่จำเป็นต่าง ๆ สำหรับนำเข้าและปรับแต่งข้อมูล, จัดการระบบฐานข้อมูล, เรียกค้น, วิเคราะห์ และ จำลองภาพ
3.ข้อมูล
คือข้อมูลต่าง ๆ ที่จะใช้ในระบบ GIS และถูกจัดเก็บในรูปแบบของฐานข้อมูลโดยได้รับการดูแล จากระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS ข้อมูลจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญรองลงมาจากบุคลากร
4.บุคลากร
คือผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เช่น ผู้นำเข้าข้อมูล ช่างเทคนิค ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล ผู้บริหารซึ่งต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ บุคลากรจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบ GIS เนื่องจากถ้าขาดบุคลากร ข้อมูลที่มีอยู่มากมายมหาศาลนั้น ก็จะเป็นเพียงขยะไม่มีคุณค่าใดเลยเพราะไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน อาจจะกล่าวได้ว่า ถ้าขาดบุคลากรก็จะไม่มีระบบ GIS
5.วิธีการหรือขั้นตอนการทำงาน
คือวิธีการที่องค์กรนั้น ๆ นำเอาระบบ GIS ไปใช้งานโดยแต่ละ ระบบแต่ละองค์กรย่อมีความแตกต่างกันออกไป ฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานต้องเลือกวิธีการในการจัดการกับปัญหาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับของหน่วยงานนั้น ๆ เอง
อ้างอิง : http://www.gisthai.org/about-gis/work-gis.html
1.อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
คือเครื่องคอมพิวเตอร์รวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เช่น Digitizer, Scanner, Plotter, Printer หรืออื่น ๆ เพื่อใช้ในการนำเข้าข้อมูล ประมวลผล แสดงผล และผลิตผลลัพธ์ของการทำงาน
2.โปรแกรม
คือชุดของคำสั่งสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Arc/Info, MapInfo ฯลฯ ซึ่งประกอบด้วยฟังก์ชั่น การทำงานและเครื่องมือที่จำเป็นต่าง ๆ สำหรับนำเข้าและปรับแต่งข้อมูล, จัดการระบบฐานข้อมูล, เรียกค้น, วิเคราะห์ และ จำลองภาพ
3.ข้อมูล
คือข้อมูลต่าง ๆ ที่จะใช้ในระบบ GIS และถูกจัดเก็บในรูปแบบของฐานข้อมูลโดยได้รับการดูแล จากระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS ข้อมูลจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญรองลงมาจากบุคลากร
4.บุคลากร
คือผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เช่น ผู้นำเข้าข้อมูล ช่างเทคนิค ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล ผู้บริหารซึ่งต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ บุคลากรจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบ GIS เนื่องจากถ้าขาดบุคลากร ข้อมูลที่มีอยู่มากมายมหาศาลนั้น ก็จะเป็นเพียงขยะไม่มีคุณค่าใดเลยเพราะไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน อาจจะกล่าวได้ว่า ถ้าขาดบุคลากรก็จะไม่มีระบบ GIS
5.วิธีการหรือขั้นตอนการทำงาน
คือวิธีการที่องค์กรนั้น ๆ นำเอาระบบ GIS ไปใช้งานโดยแต่ละ ระบบแต่ละองค์กรย่อมีความแตกต่างกันออกไป ฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานต้องเลือกวิธีการในการจัดการกับปัญหาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับของหน่วยงานนั้น ๆ เอง
อ้างอิง : http://www.gisthai.org/about-gis/work-gis.html
ความหมายของคำว่า "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์"
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย ใช้งานได้ง่าย
GIS เป็นระบบข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ แต่สามารถแปลความหมายเชื่อมโยงกับสภาพภูมิศาสตร์อื่นๆ สภาพท้องที่ สภาพการทำงานของระบบสัมพันธ์กับสัดส่วนระยะทางและพื้นที่จริงบนแผนที่ ข้อแตกต่างระหว่าง GIS กับ MIS นั้นสามารถพิจารณาได้จากลักษณะของข้อมูล คือ ข้อมูลที่จัดเก็บใน GIS มีลักษณะเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ที่แสดงในรูปของภาพ (graphic) แผนที่ (map) ที่เชื่อมโยงกับข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data) หรือฐานข้อมูล (Database)การเชื่อมโยงข้อมูลทั้งสองประเภทเข้าด้วยกัน จะทำให้ผู้ใช้สามารถที่จะแสดงข้อมูลทั้งสองประเภทได้พร้อมๆ กัน เช่นสามารถจะค้นหาตำแหน่งของจุดตรวจวัดควันดำ - ควันขาวได้โดยการระบุชื่อจุดตรวจ หรือในทางตรงกันข้าม สามารถที่จะสอบถามรายละเอียดของ จุดตรวจจากตำแหน่งที่เลือกขึ้นมา ซึ่งจะต่างจาก MIS ที่แสดง ภาพเพียงอย่างเดียว โดยจะขาดการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกับรูปภาพนั้น เช่นใน CAD (Computer Aid Design) จะเป็นภาพเพียงอย่างเดียว แต่แผนที่ใน GIS จะมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ คือค่าพิกัดที่แน่นอน ข้อมูลใน GIS ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย สามารถอ้างอิงถึงตำแหน่งที่มีอยู่จริงบนพื้นโลกได้โดยอาศัยระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (Geocode) ซึ่งจะสามารถอ้างอิงได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้อมูลใน GIS ที่อ้างอิงกับพื้นผิวโลกโดยตรง หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าพิกัดหรือมีตำแหน่งจริงบนพื้นโลกหรือในแผนที่ เช่น ตำแหน่งอาคาร ถนน ฯลฯ สำหรับข้อมูล GIS ที่จะอ้างอิงกับข้อมูลบนพื้นโลกได้โดยทางอ้อมได้แก่ ข้อมูลของบ้าน(รวมถึงบ้านเลขที่ ซอย เขต แขวง จังหวัด และรหัสไปรษณีย์) โดยจากข้อมูลที่อยู่ เราสามารถทราบได้ว่าบ้านหลังนี้มีตำแหน่งอยู่ ณ ที่ใดบนพื้นโลก เนื่องจากบ้านทุกหลังจะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกัน
อ้างอิง : http://www.gisthai.org/about-gis/gis.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)